top of page

คุณคิดว่าคุณรู้จักความเครียดดีแค่ไหน?

ความเครียด เป็นเรื่องของร่างกายและจิตใจ เมื่อเกิดเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งขึ้น ทำให้รู้สึกทุกข์  ไม่สบายใจ วุ่นวายใจ ก็จะส่งผลให้ความสมดุลของร่างกายและจิตใจเปลี่ยนไป

แล้วแบบไหนถึงจะเรียกว่าเครียด?

เมื่อเกิดความเครียด บุคคลจะแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย ด้านจิตใจและอารมณ์ รวมถึงด้านพฤติกรรม แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความเครียดเหล่านั้น ก็จะค่อยๆหายไป ร่างกายจะกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลอีกครั้งหนึ่ง

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความเครียด มีอยู่ 2 ปัจจัยหลัก คือ (1) ปัญหาชีวิต เช่น การเงิน การทำงาน ครอบครัว สุขภาพ (2) การคิดและการประเมินสถานการณ์ของบุคคล เช่น มองโลกในแง่ลบ ใจร้อน เอาจิงเอาจังกับชีวิต อยู่โดดเดี่ยว เป็นต้น ซึ่งความเครียดจะเกิดได้ ต้องมีทั้ง 2 ปัจจัยเหล่านี้ร่วมกัน

ความเครียดจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวบุคคลหลักๆ 3 ด้านด้วยกัน คือ

  1. ด้านร่างกาย มักมีอาการ ปวดหัว ปวดไมเกรน ใจสั่น นอนไม่หลับ ง่วงเหงาหาวนอนตลอดเวลา ท้องเสียหรือท้องผูก ท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ประจำเดือนมาไม่ปกติ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น

  2. ด้านจิตใจ อาการที่พบบ่อย เช่น คิดมาก วิตกกังวล ไม่มีสมาธิ โกรธง่าย หงุดหงิดง่าย เบื่อหน่าย ท้อแท้ ซึมเศร้า สิ้นหวัง หมดความสนุกสนาน เป็นต้น

  3. ด้านพฤติกรรม เช่น ดื่มเหล้า สูบบุหรี่มากขึ้น ใช้ยานาอนหลับหรือสารเสพติด มีความขัดแย้งกับผู้อื่นบ่อยๆ โวยวาย ชวนทะเลาะ จู้จี้ขี้บ่น เก็บตัว ดึงผม กัดเล็บ เป็นต้น

         แล้วจะทำอย่างไร เมื่อความเครียดมาเยือน? อันดับแรกต้องยอมรับให้ได้ก่อนว่าเรากำลังเผชิญกับความเครียดอยู่ หาสาเหตุของความเครียดนั้นให้เจอ แล้วจัดการกับมัน ด้วย 9 วิธีจัดการความเครียด

  1. หมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกาย จิตใจและพฤติกรรมเพื่อรู้เท่าทันความเครียด

  2. ผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีที่คุ้นเคย เช่น ฟังเพลงเบาๆ นั่งสมาธิอยู่กับลมหายใจ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น

  3. จัดสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้สบายตา น่าอยู่ น่าทำงาน ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน

  4. หากิจกรรมที่ชื่นชอบทำ เช่น ออกกำลังกาย ท่องเที่ยว สังสรรค์กับเพื่อน ทำบุญ ดูหนัง ฟังเพลง เล่นดนตรี เป็นต้น

  5. หากรู้ปัญหาของความเครียดนั้นแล้ว ให้พยายามหาทางแก้ไขโดยเร็ว

  6. ฝึกฝนตนเองในทักษะที่จำเป็น เช่น ทักษะการสื่อสาร การสร้างสัมพันธภาพกับผู้ร่วมงาน การจัดสินใจและการแก้ไขปัญหา เป็นต้น

  7. ปรับเปลี่ยนความคิดด มุมมอง และทัศนคติในแง่บวก

  8. พูดคุยกับครอบครัวหรือเพื่อนที่สนิท เพื่อระบายความทุกข์ใจ โดยรับฟังอย่างตั้งใจและพูดให้กำลังใจกันและกัน

  9. พบว่ามีความเครียดมาก สามารถขอรับบริการที่คลีนิคคลายเครียดหรือบริการให้คำปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323

bottom of page